ท่ามกลางความหวังที่จะต้องการเห็นถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศ รองรับกับการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ ที่รัฐบาลไทยได้ไปลงนามเป็นรัฐภาคีและให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 จนเป็นที่จับตามองว่า ในประเทศอาเซียน ไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศรัฐภาคี นอกจากนี้ยังมีลาวและอินโดนีเซีย แต่จนถึงขณะนี้ เวลาผ่านพ้นไปปีกว่า ก็ยังไม่เห็นถึงความคืบหน้าตามที่รัฐบาลไทยตั้งใจจะพยายามยกระดับมาตรฐาน เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคนในประเทศให้สูงยิ่งขึ้น สิ่งนี้ ทำให้คิดล่วงไปถึงความร่วมมือในเสาสังคม วัฒนธรรมอาเซียน ที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้ร่วมกันประกาศรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ที่มุ่งหวังจะปกป้องสิทธิคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประชาชนในอาเซียนกว่า 600 ชีวิต ว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร สำหรับประเทศไทย นับเป็นประเทศในอาเซียนในอันดับต้นๆ ที่เปิดเสรีภาพในการแสดงออกให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่ ตามรัฐธรรมนูญและตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เปิดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม และทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชน โดยต้องเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย สิ่งนี้ถือเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ที่ได้สร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่นักรณรงค์ในประเทศอาเซียนได้มาร่วมกันจัดกิจกรรมในประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ยังเกิดเหตุการณ์คนสูญหายในประเทศอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักเคลื่อนไหว ภาคประชาสังคมที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านระดับท้องถิ่น ที่เหมือนเข้าไปท้าทายอำนาจรัฐ อย่างล่าสุดกรณีนายสมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสชาวลาว เจ้าของรางวัลรามอน แมกไซไซ ปี 2548 นักพัฒนาอาวุโสชาวลาวผู้เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มภาคประชาสังคมไทย และได้รับความเคารพอย่างกว้างขวางทั้งในลาว และจากนานาประเทศ หายตัวไป เหตุเกิดขึ้นใจกลางกรุงเวียงจันทน์ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐของลาว โดยมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพไว้ได้ แต่เกือบ 1 เดือนแล้ว ก็ไม่มีคำอธิบายใดๆ จากทางการ สปป.ลาวเกี่ยวกับการสืบสวนและติดตามตัวนายสมบัด สมพอน เช่นเดียวกันกับการหายตัวไปกว่า 8 ปี ของทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนโดยการรับทำคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่ทนายส่วนมากมักจะปฏิเสธ เช่น คดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ คดีคนพม่าลี้ภัยการเมือง คดีชาวอิหร่านที่ถูกจับในข้อหาเป็นผู้วางระเบิดสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อที่ว่า บุคคลใดที่ช่วยเหลือร่วมพิทักษ์รักษาสิทธิประชาชน จะถูกมองว่า ท้าทายอำนาจรัฐ จะได้รับภัยมืดที่มองไม่เห็น และสุดท้ายก็จะมีชะตากรรมเดียวกัน นี่ยังไม่รวมถึงความชัดเจนที่รัฐบาลไทยยังไม่เคยออกมาอธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในช่วงที่ผ่านมา ที่จะเป็นการแสดงความจริงใจต่อการให้ความช่วยเหลือ “นายวีระ สมความคิด” และ “น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์” สองนักเคลื่อนไหวที่ถูกดำเนินคดีในกัมพูชา แม้ว่า น.ส.ราตรีกำลังจะได้รับอิสรภาพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้แล้วก็ตาม การละเมิดสิทธิฯ ของประชาชน นักเคลื่อนไหวและผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคมในอาเซียน ก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นถูกลอบสังหาร เพราะไปขัดผลประโยชน์อย่างร้ายแรงก็เคยมีมา อย่างนายมูนีร์ ไซอิด ทาลิป ทนายความชาวอินโดนีเซียที่ทำงานและต่อสู้คดีเพื่อชาวบ้านที่ยากไร้ ถูกวางยาในอาหารบนสายการบินการูดา ในระหว่างเดินทางไปรับทุนเรียนต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยขณะนี้ยังไม่สามารถติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ นอกจากควบคุมตัวนักบินที่ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนรู้เห็น แต่ยากจะหาความคืบหน้าของคดีได้ เหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้เห็นถึงแนวทางรัฐบาลที่ดำเนินการต่อญาติผู้เสียหาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลประเทศใดในอาเซียน ก็จะมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน นั่นคือ ในระยะแรกๆ จะแสดงความเห็นใจและรับปากติดตามสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป แม้จะมีการให้เงินเยียวยาครอบครัวผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ที่ถูกต้อง เนื่องจากญาติมีความเป็นห่วงชะตากรรมของผู้สูญหายมากกว่า และเงินเยียวยาก็ทดแทนกันไม่ได้ กลับเหมือนเป็นเครื่องมือจากรัฐ ปิดปากไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นได้ส่งเสียงเรียกร้องใดๆ แล้วเมื่อญาติผู้เสียหาย รวมไปถึงนักสิทธิฯ ได้เคลื่อนไหวทวงถามข้อเท็จจริงในเหตุการณ์และความคืบหน้าของคดี ทางรัฐบาลก็ใช้วิธีนิ่งเฉยและปัดความผิดชอบร่วมที่จะอธิบายข้อเท็จจริงไปได้ทุกครั้ง วันนี้คงถึงเวลาที่ประชาชนในอาเซียนจะตระหนักและรับรู้สิทธิฯ ของตนเองที่ควรได้รับการปฏิบัติ ตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่เน้นย้ำในเรื่องสิทธิคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในอาเซียน โดยที่ทุกคนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันคิดสร้างความสมดุลของการพัฒนาสิทธิฯ ในประเทศ และอาเซียน ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สุดท้ายแล้วประชาชนก็เป็นฐานกำลังสำคัญต่อการพัฒนาให้เกิดความเจริญในภูมิภาค --------------------- (ที่นี่บัวแก้ว : เสียงเรียกร้องสิทธิฯ อันแผ่วเบาในอาเซียนจากลาว สู่ไทย ไปอินโดนีเซีย)
Sunday, January 13, 2013
เสียงเรียกร้องจากลาวสู่ไทยไปอินโดฯ
เสียงเรียกร้องจากลาวสู่ไทยไปอินโดฯ
ท่ามกลางความหวังที่จะต้องการเห็นถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศ รองรับกับการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ ที่รัฐบาลไทยได้ไปลงนามเป็นรัฐภาคีและให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 จนเป็นที่จับตามองว่า ในประเทศอาเซียน ไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศรัฐภาคี นอกจากนี้ยังมีลาวและอินโดนีเซีย แต่จนถึงขณะนี้ เวลาผ่านพ้นไปปีกว่า ก็ยังไม่เห็นถึงความคืบหน้าตามที่รัฐบาลไทยตั้งใจจะพยายามยกระดับมาตรฐาน เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคนในประเทศให้สูงยิ่งขึ้น สิ่งนี้ ทำให้คิดล่วงไปถึงความร่วมมือในเสาสังคม วัฒนธรรมอาเซียน ที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้ร่วมกันประกาศรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ที่มุ่งหวังจะปกป้องสิทธิคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประชาชนในอาเซียนกว่า 600 ชีวิต ว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร สำหรับประเทศไทย นับเป็นประเทศในอาเซียนในอันดับต้นๆ ที่เปิดเสรีภาพในการแสดงออกให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่ ตามรัฐธรรมนูญและตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เปิดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม และทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชน โดยต้องเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย สิ่งนี้ถือเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ที่ได้สร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่นักรณรงค์ในประเทศอาเซียนได้มาร่วมกันจัดกิจกรรมในประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ยังเกิดเหตุการณ์คนสูญหายในประเทศอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักเคลื่อนไหว ภาคประชาสังคมที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านระดับท้องถิ่น ที่เหมือนเข้าไปท้าทายอำนาจรัฐ อย่างล่าสุดกรณีนายสมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสชาวลาว เจ้าของรางวัลรามอน แมกไซไซ ปี 2548 นักพัฒนาอาวุโสชาวลาวผู้เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มภาคประชาสังคมไทย และได้รับความเคารพอย่างกว้างขวางทั้งในลาว และจากนานาประเทศ หายตัวไป เหตุเกิดขึ้นใจกลางกรุงเวียงจันทน์ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐของลาว โดยมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพไว้ได้ แต่เกือบ 1 เดือนแล้ว ก็ไม่มีคำอธิบายใดๆ จากทางการ สปป.ลาวเกี่ยวกับการสืบสวนและติดตามตัวนายสมบัด สมพอน เช่นเดียวกันกับการหายตัวไปกว่า 8 ปี ของทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนโดยการรับทำคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่ทนายส่วนมากมักจะปฏิเสธ เช่น คดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ คดีคนพม่าลี้ภัยการเมือง คดีชาวอิหร่านที่ถูกจับในข้อหาเป็นผู้วางระเบิดสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อที่ว่า บุคคลใดที่ช่วยเหลือร่วมพิทักษ์รักษาสิทธิประชาชน จะถูกมองว่า ท้าทายอำนาจรัฐ จะได้รับภัยมืดที่มองไม่เห็น และสุดท้ายก็จะมีชะตากรรมเดียวกัน นี่ยังไม่รวมถึงความชัดเจนที่รัฐบาลไทยยังไม่เคยออกมาอธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในช่วงที่ผ่านมา ที่จะเป็นการแสดงความจริงใจต่อการให้ความช่วยเหลือ “นายวีระ สมความคิด” และ “น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์” สองนักเคลื่อนไหวที่ถูกดำเนินคดีในกัมพูชา แม้ว่า น.ส.ราตรีกำลังจะได้รับอิสรภาพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้แล้วก็ตาม การละเมิดสิทธิฯ ของประชาชน นักเคลื่อนไหวและผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคมในอาเซียน ก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นถูกลอบสังหาร เพราะไปขัดผลประโยชน์อย่างร้ายแรงก็เคยมีมา อย่างนายมูนีร์ ไซอิด ทาลิป ทนายความชาวอินโดนีเซียที่ทำงานและต่อสู้คดีเพื่อชาวบ้านที่ยากไร้ ถูกวางยาในอาหารบนสายการบินการูดา ในระหว่างเดินทางไปรับทุนเรียนต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยขณะนี้ยังไม่สามารถติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ นอกจากควบคุมตัวนักบินที่ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนรู้เห็น แต่ยากจะหาความคืบหน้าของคดีได้ เหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้เห็นถึงแนวทางรัฐบาลที่ดำเนินการต่อญาติผู้เสียหาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลประเทศใดในอาเซียน ก็จะมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน นั่นคือ ในระยะแรกๆ จะแสดงความเห็นใจและรับปากติดตามสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป แม้จะมีการให้เงินเยียวยาครอบครัวผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ที่ถูกต้อง เนื่องจากญาติมีความเป็นห่วงชะตากรรมของผู้สูญหายมากกว่า และเงินเยียวยาก็ทดแทนกันไม่ได้ กลับเหมือนเป็นเครื่องมือจากรัฐ ปิดปากไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นได้ส่งเสียงเรียกร้องใดๆ แล้วเมื่อญาติผู้เสียหาย รวมไปถึงนักสิทธิฯ ได้เคลื่อนไหวทวงถามข้อเท็จจริงในเหตุการณ์และความคืบหน้าของคดี ทางรัฐบาลก็ใช้วิธีนิ่งเฉยและปัดความผิดชอบร่วมที่จะอธิบายข้อเท็จจริงไปได้ทุกครั้ง วันนี้คงถึงเวลาที่ประชาชนในอาเซียนจะตระหนักและรับรู้สิทธิฯ ของตนเองที่ควรได้รับการปฏิบัติ ตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่เน้นย้ำในเรื่องสิทธิคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในอาเซียน โดยที่ทุกคนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันคิดสร้างความสมดุลของการพัฒนาสิทธิฯ ในประเทศ และอาเซียน ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สุดท้ายแล้วประชาชนก็เป็นฐานกำลังสำคัญต่อการพัฒนาให้เกิดความเจริญในภูมิภาค --------------------- (ที่นี่บัวแก้ว : เสียงเรียกร้องสิทธิฯ อันแผ่วเบาในอาเซียนจากลาว สู่ไทย ไปอินโดนีเซีย)
ท่ามกลางความหวังที่จะต้องการเห็นถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศ รองรับกับการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ ที่รัฐบาลไทยได้ไปลงนามเป็นรัฐภาคีและให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 จนเป็นที่จับตามองว่า ในประเทศอาเซียน ไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศรัฐภาคี นอกจากนี้ยังมีลาวและอินโดนีเซีย แต่จนถึงขณะนี้ เวลาผ่านพ้นไปปีกว่า ก็ยังไม่เห็นถึงความคืบหน้าตามที่รัฐบาลไทยตั้งใจจะพยายามยกระดับมาตรฐาน เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคนในประเทศให้สูงยิ่งขึ้น สิ่งนี้ ทำให้คิดล่วงไปถึงความร่วมมือในเสาสังคม วัฒนธรรมอาเซียน ที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้ร่วมกันประกาศรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ที่มุ่งหวังจะปกป้องสิทธิคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประชาชนในอาเซียนกว่า 600 ชีวิต ว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร สำหรับประเทศไทย นับเป็นประเทศในอาเซียนในอันดับต้นๆ ที่เปิดเสรีภาพในการแสดงออกให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่ ตามรัฐธรรมนูญและตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เปิดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม และทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชน โดยต้องเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย สิ่งนี้ถือเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ที่ได้สร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่นักรณรงค์ในประเทศอาเซียนได้มาร่วมกันจัดกิจกรรมในประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ยังเกิดเหตุการณ์คนสูญหายในประเทศอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักเคลื่อนไหว ภาคประชาสังคมที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านระดับท้องถิ่น ที่เหมือนเข้าไปท้าทายอำนาจรัฐ อย่างล่าสุดกรณีนายสมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสชาวลาว เจ้าของรางวัลรามอน แมกไซไซ ปี 2548 นักพัฒนาอาวุโสชาวลาวผู้เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มภาคประชาสังคมไทย และได้รับความเคารพอย่างกว้างขวางทั้งในลาว และจากนานาประเทศ หายตัวไป เหตุเกิดขึ้นใจกลางกรุงเวียงจันทน์ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐของลาว โดยมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพไว้ได้ แต่เกือบ 1 เดือนแล้ว ก็ไม่มีคำอธิบายใดๆ จากทางการ สปป.ลาวเกี่ยวกับการสืบสวนและติดตามตัวนายสมบัด สมพอน เช่นเดียวกันกับการหายตัวไปกว่า 8 ปี ของทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนโดยการรับทำคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่ทนายส่วนมากมักจะปฏิเสธ เช่น คดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ คดีคนพม่าลี้ภัยการเมือง คดีชาวอิหร่านที่ถูกจับในข้อหาเป็นผู้วางระเบิดสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อที่ว่า บุคคลใดที่ช่วยเหลือร่วมพิทักษ์รักษาสิทธิประชาชน จะถูกมองว่า ท้าทายอำนาจรัฐ จะได้รับภัยมืดที่มองไม่เห็น และสุดท้ายก็จะมีชะตากรรมเดียวกัน นี่ยังไม่รวมถึงความชัดเจนที่รัฐบาลไทยยังไม่เคยออกมาอธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในช่วงที่ผ่านมา ที่จะเป็นการแสดงความจริงใจต่อการให้ความช่วยเหลือ “นายวีระ สมความคิด” และ “น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์” สองนักเคลื่อนไหวที่ถูกดำเนินคดีในกัมพูชา แม้ว่า น.ส.ราตรีกำลังจะได้รับอิสรภาพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้แล้วก็ตาม การละเมิดสิทธิฯ ของประชาชน นักเคลื่อนไหวและผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคมในอาเซียน ก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นถูกลอบสังหาร เพราะไปขัดผลประโยชน์อย่างร้ายแรงก็เคยมีมา อย่างนายมูนีร์ ไซอิด ทาลิป ทนายความชาวอินโดนีเซียที่ทำงานและต่อสู้คดีเพื่อชาวบ้านที่ยากไร้ ถูกวางยาในอาหารบนสายการบินการูดา ในระหว่างเดินทางไปรับทุนเรียนต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยขณะนี้ยังไม่สามารถติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ นอกจากควบคุมตัวนักบินที่ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนรู้เห็น แต่ยากจะหาความคืบหน้าของคดีได้ เหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้เห็นถึงแนวทางรัฐบาลที่ดำเนินการต่อญาติผู้เสียหาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลประเทศใดในอาเซียน ก็จะมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน นั่นคือ ในระยะแรกๆ จะแสดงความเห็นใจและรับปากติดตามสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป แม้จะมีการให้เงินเยียวยาครอบครัวผู้เสียหาย แต่ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ที่ถูกต้อง เนื่องจากญาติมีความเป็นห่วงชะตากรรมของผู้สูญหายมากกว่า และเงินเยียวยาก็ทดแทนกันไม่ได้ กลับเหมือนเป็นเครื่องมือจากรัฐ ปิดปากไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นได้ส่งเสียงเรียกร้องใดๆ แล้วเมื่อญาติผู้เสียหาย รวมไปถึงนักสิทธิฯ ได้เคลื่อนไหวทวงถามข้อเท็จจริงในเหตุการณ์และความคืบหน้าของคดี ทางรัฐบาลก็ใช้วิธีนิ่งเฉยและปัดความผิดชอบร่วมที่จะอธิบายข้อเท็จจริงไปได้ทุกครั้ง วันนี้คงถึงเวลาที่ประชาชนในอาเซียนจะตระหนักและรับรู้สิทธิฯ ของตนเองที่ควรได้รับการปฏิบัติ ตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่เน้นย้ำในเรื่องสิทธิคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในอาเซียน โดยที่ทุกคนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันคิดสร้างความสมดุลของการพัฒนาสิทธิฯ ในประเทศ และอาเซียน ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สุดท้ายแล้วประชาชนก็เป็นฐานกำลังสำคัญต่อการพัฒนาให้เกิดความเจริญในภูมิภาค --------------------- (ที่นี่บัวแก้ว : เสียงเรียกร้องสิทธิฯ อันแผ่วเบาในอาเซียนจากลาว สู่ไทย ไปอินโดนีเซีย)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Blog Archive
-
▼
2013
(240)
-
▼
January
(59)
- ทอร์นาโดถล่มตะวันออกเฉียงใต้ กระทบ 7 รัฐ จอร์เจียด...
- แผ่นดินไหวชิลี 6.7 เบื้องต้นไร้ความเสียหาย
- ระทึก! มือปืนมะกันจับเด็ก 6 ขวบเป็นตัวประกัน เจรจา...
- กรดรั่วในรง.ผลิตชิพของ ซัมซุง คนงานดับ 1 เจ็บอีก 4
- ผู้ประท้วงอียิปต์เมินเคอร์ฟิว ปะทะเดือดกลางดึก-ตาย...
- เอฟ-16 มะกันสาบสูญในทะเลอิตาลี เชื่อโหม่งโลกแล้ว
- อาเบะนายกฯญี่ปุ่น พร้อมปรับสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้น
- พายุถล่มออสเตรเลีย หลายเมืองรัฐควีนส์แลนด์น้ำท่วมข...
- ค่าตัดผมกับความเสมอภาคทางเพศ
- อียิปต์ปะทะเดือดตาย10เจ็บกว่า400
- เกิดจลาจลในคุกเวเนฯดับกว่า50
- โคตรเสียว! ฟ้าฝ่านกเหล็กเติร์ก เครื่องยนต์ไฟลุก กั...
- อียิปต์ชุมนุมครบ 2 ปีไล่อดีตผู้นำ ปะทะเดือดตาย 7 ศ...
- จลาจลเรือนจำเวเนฯ ดับอย่างน้อย 50 ศพ
- เปิดประชุมเศรษฐกิจโลก เน้นกระตุ้นการเติบโตมากขึ้น
- อุโมงค์นอร์เวย์อัมพาต ชีสติดไฟลุกไหม้ แก๊สพิษฟุ้งก...
- แอปเปิล กินแห้ว!! ยอด iPhone ปิ๋ว รายได้หดหุ้นร่วง...
- โอบามาสาบานตนสมัย2
- แฮร์รีรับสังหารตาลีบันไปหลายศพ
- ยุทธการชิงตัวประกันระห่ำโลก(2)
- ระทึก! สตรีสูงวัยเป็นลมร่วงคารางรถไฟ ตร.ฮีโร่กระโจ...
- มือปืนบุกวิทยาลัยในเท็กซัส สาดกระสุนใส่นศ.เจ็บ 2
- ตาลีบัน หมิ่น เจ้าชายแฮร์รี่ ป่วยจิต เปรียบสงครามเ...
- เป็นเรื่อง! หนุ่มน้อยล่า 1 ล้านไลค์ เพื่อมีเซ็กซ์ก...
- มะกันชี้ไฟลุกแบตฯดรีมไลเนอร์ ไม่เกี่ยวชาร์จไฟมากไป
- สลด! โจ๋มะกันวัย 15 ยิงดับครอบครัวตัวเอง 5 ศพ
- ยุโรป-จีนสะท้าน วิกฤติอากาศหนาวจัด กระทบหนักคมนาคม
- แอฟริกาขอทุนยูเอ็นหนุนปราบกลุ่มติดอาวุธในมาลี
- คะฉิ่นโวยพม่าไม่หยุดยิง
- จาการ์ตาน้ำท่วม!ตาย4
- กลุ่มติดอาวุธอัลจีเรียจับ41ตัวประกัน
- อาร์โกกับริบบิ้นเหลือง444เส้น
- เลดี้กาก้าจุดกระแสขัดแย้งอีก!!
- กาแล็กซี่เอสขายได้แล้ว100ล.เครื่อง
- เหนือเมฆจีนแผลงฤทธิ์เชือดเซเลบ
- ชุมชนไทยในต่างแดน : 13 ม.ค. 56
- อินเดียรุมโทรมอีก7ชายข่มขืนหญิง29
- เสียงเรียกร้องจากลาวสู่ไทยไปอินโดฯ
- กต.เขมรแถลง ฮุน เซน เตรียมขออภัยโทษ วีระ-ราตรี
- ดับเพลิงออสซี่เร่งดับไฟป่า ก่อนร้อนอีกศุกร์นี้
- คาด โอบามา เลือก แจ็ค ลิว เป็นรมว.คลังคนใหม่
- โอบามาประกาศตั้ง รวม.กลาโหม-ผบ.ซีไอเอ คนใหม่
- สาวซาอุฯ 15 ขวัญผวา! ล็อคตัวในห้องนอน ไม่ให้ผัวเฒ่...
- อดีตผู้ว่าฯ มะกัน-ปธ.กูเกิล ถึงโสมเหนือ หวังคุยปล่...
- หนุ่มใหญ่ถูกจับมัดกับที่นั่ง!! หลังซดเหล้าเมาอาละว...
- พ่อประกาศชื่อลูกให้โลกรับรู้ เจโยติ เหยื่อกามบนรถเ...
- ผู้นำซีเรียเสนอแนวทางยุติสงครามกลางเมือง จี้ต่างชา...
- มีลูกยากเชิญทางนี้!! รพ.จีนเปิดห้องอีโรติก สร้างอา...
- หมอกจัด! สนามบินคุณหมิงระงับ 280 เที่ยวบิน ผู้โดยส...
- ภาพหลุด กาแล็คซี่ เอส4 !? อ้างเปิดตัวสัปดาห์หน้า
- อินเดียดับนับร้อย เซ่นหนาวสุดในรอบ 44 ปี
- ชาวออสซี่ฟ้องนมถั่วเหลืองพิษกระทบสุขภาพ
- ไต้หวันแผ่นดินไหว 4.4 ริกเตอร์ ยังไม่มีรายงานเจ็บ-ตาย
- ลือภริยาผู้นำคิมคลอดลูกแล้ว หมดกังวลทายาทสืบทอด
- สหประชาชาติเผยสถิติเหยื่อศึกซีเรียทะลุ 60,000
- ครอบครัวเหยื่อข่มขืนบนรถเมล์ร้องแก้กม.ประหารผู้ต้อ...
- โลกที่เห็นและเป็นอยู่ ปีงู(เล็ก)2013
- เจ้าพ่อเพลย์บอยวัย 86 แต่งกับแฟนสาวอายุห่างกัน 60 ...
- ลัทธิซูฟี
-
▼
January
(59)
No comments:
Post a Comment