Friday, November 16, 2012

วอนปาฏิหาริย์ยื้อเส้นตาย ทำลายพุทธโบราณสถาน Mes Aynak สิ้นปี 2555

วอนปาฏิหาริย์ยื้อเส้นตาย ทำลายพุทธโบราณสถาน Mes Aynak สิ้นปี 2555
ชาวพุทธทั่วโลกลุกฮือ! ล่ารายชื่อยื่นยูเนสโกและ ปธน.ฮามิด คาร์ไซ ต้านการขุดเหมืองแร่ทองแดงในอัฟกานิสถาน เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นเผยบทความเมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา ระบุแหล่งทรัพยากรทับซ้อนกับพุทธโบราณเก่าแก่ Mes Aynak อายุกว่า 2,600 ปี ยิ่งใหญ่เทียบเท่า มาชู ปิกชู แห่งเปรู จี้คนในท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของอารยธรรมโบราณ ก่อนที่จะไม่เหลืออะไรเลย...ความเป็นมาMes Aynak อดีตเมืองโบราณสมัยยุคทองแดง อายุเก่าแก่ 5,000 ปี ในจังหวัดลอการ์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 40 กิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอุดมไปด้วยแร่ทองแดงขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของโลก นอกจากนี้ยังอยู่บนเส้นทางสายไหม สะพานเชื่อมการแลกเปลี่ยนทางการค้าและวัฒนธรรมจากจีนไปสู่ชาติตะวันตก ทั้งยังเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญทางพุทธศาสนา อายุมากกว่า 2,600 ปี มีพระพุทธรูปเก่าแก่กว่า 200 องค์ รวมทั้งศาสนสถานอีกมากมาย อาทิ เจดีย์ และวัด ภายในอาณาบริเวณกว้างขวางกว่า 250 ไร่เศษมูลเหตุสืบเนื่องจากการเป็นแหล่งแร่ทองแดงขนาดใหญ่ เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา บริษัทไชน่า เมทัลเลอร์จิคอล กรุ๊ป คอร์เปอเรชั่น (เอ็มซีซี) สัญชาติจีน ได้เล็งเห็นถึงขุมทรัพย์ที่สามารถสร้างเม็ดเงินอย่างมหาศาล จึงประมูลสัมปทานเช่าพื้นที่จากรัฐบาลรัฐบาลอัฟกานิสถาน ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ เป็นเวลา 30 ปี ในข้อตกลงระบุรัฐบาลอัฟกานิสถาน จะได้รับเงินจำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 90,000 ล้านบาท) ขณะที่กลุ่มขุดเจาะทองแดงอาจสร้างรายได้มหาศาลราว 100,000 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ (ราว 3,000,000 ล้านบาท) แต่ 2 ปีถัดมาถูกนานาชาติกดดันเกี่ยวกับพุทธโบราณสถาน จึงมีการขยายเวลาสำรวจออกไประยะหนึ่ง ซึ่งในวันที่ 31 ธ.ค. 2555 หรือสิ้นปีนี้ จะครบกำหนดสัญญาและเปิดช่องให้บริษัทดังกล่าวดำเนินการขุดเจาะทองแดงได้ต่อไป ซึ่งหมายถึงการทำลายศาสนสถานอันล้ำค่าของโลกที่มีอายุเก่าแก่หลายพันปีอุปสรรคบริษัทเอ็มซีซี อ้างว่าไม่ทราบมาก่อนว่าพื้นที่แห่งนี้ทับซ้อนกับพุทธโบราณสถานสำคัญ จึงยืดเวลาให้เหล่านักโบราณคดีเข้ามาสำรวจ แต่เวลาที่มอบให้เพียงแค่ 3 ปีนั้น ถือว่าสั้นมากและแทบทำอะไรไม่ได้เลย ทั้งที่การสำรวจควรใช้เวลามากถึง 30 ปี ซ้ำร้ายทีมนักโบราณคดี ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือดีๆ ในการทำงาน แถมยังไม่ได้รับสิทธิ์ในการบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูป หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยทำงานอีกด้วย ปัจจุบันนักโบราณคดีนานาชาติ 3 ทีม ได้ช่วยกันเร่งทำงานอย่างเต็มที่เพื่อรักษาอารยธรรมโบราณให้ได้มากที่สุด โดยบางครั้งการขุดค้นและเคลื่อนย้ายไม่อาจปราณีตกับเนื้องาน หรือรักษารูปลักษณ์เดิมของโบราณวัตถุไว้ได้ นอกจากนี้ยังมีอุปสรรค์รอบข้างจากกลุ่มก่อการร้ายตาลีบันในท้องที่ ที่มุ่งโจมตีด้วยจรวดและระเบิดอย่างไม่ขาดสายทำไมต้องรักษานายเบรนต ฮัฟฟ์แมน นักสร้างภาพยนตร์สารคดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวารสารศาสตร์ (เมดิลล์ สกูล ออฟ เจอร์นัลลิสม์) แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น บุคคลผู้ตระหนักถึงความสูญเสียในครั้งนี้ และได้เข้ามาถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับ Mes Aynak ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี 2554 ให้ความเห็นว่า ความคิดที่จะทำลายพุทธโบราณสถานแห่งนี้เป็นเรื่องที่ผิด เพราะไม่ใช่แค่สิ่งที่เหลือมาจากอดีต แต่เปรียบเป็นข้อต่อของกาลเวลา และชี้ว่าอัฟกานิสถานควรเห็นคุณค่าของการศึกษาด้านประวัติศาตร์และวัฒนธรรมของชาติ โดย Mes Aynak เป็นกุญแจสำคัญที่ยืนยันความมีอยู่ของปูมหลังอันยิ่งใหญ่ว่ากันว่าการทำเหมืองแร่เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับอัฟกานิสถาน อันที่จริงประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการทำธุรกิจเหมืองแร่ แม้บริษัทสัญชาติจีนจะเข้ามาลงทุน แต่คนในท้องถิ่นก็จะตกเป็นเบี้ยล่าง เป็นเพียงแค่ลูกจ้างค่าแรงต่ำ สุดท้ายเมื่อทรัพยากรหมดสิ้น มลพิษเพิ่มมากขึ้น โบราณสถานถูกทำลาย อัฟกานิสถานก็จะไม่เหลืออะไรเลยร่วมสร้างปาฏิหารย์ปัจจุบันเกิดการรวมตัวของของชาวพุทธในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ในการต่อต้านการทำลายพุทธโบราณสถาน Mes Aynak เพื่อการขุดเจาะเหมืองแร่ทองแดง ซึ่งแนวทางการเรียกร้องครั้งนี้เริ่มขึ้นจาก นางนาเดีย ทาร์ซี ประธานสมาคมคุ้มครองโบราณสถานของอัฟกานิสถาน ได้รวบรวมรายชื่อชาวพุทธจากทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ http://goo.gl/zEMFg และเว็บไซต์ http://goo.gl/aW1Zg เพื่อเสนอต่อองค์การยูเนสโกให้คุ้มครองโบราณสถานดังกล่าว ทั้งยังรวบรวมรายชื่อเสนอต่อประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน ให้ชะลอแผนการทำเหมืองทองแดงออกไปก่อนด้วย โดยขณะนี้มีการรวบรวมรายชื่อพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกได้นับแสนรายชื่อแล้ว. 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive