Thursday, March 18, 2010

โอบามาพบดาไล ลามะ เมินเสียงจีนคัดค้าน

โอบามาพบดาไล ลามะ เมินเสียงจีนคัดค้าน

เสียงคัดค้านจากจีนไม่เป็นผล เมื่อ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ทำตามกำหนดการพบปะหารือเรื่องการแก้ปัญหาสถานการณ์การเมืองของทิเบตกับองค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณชาวทิเบตสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินหน้าตามกำหนดการพบหารือกับองค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณชาวทิเบตภายในห้องแผนที่ของทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ก.พ. ตามเวลาท้องถิ่น ท่ามกลางความไม่พอใจอย่างยิ่งจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน  เตือนการกระทำดังกล่าวของสหรัฐอเมริกายิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีนแย่ลงอีก องค์ดาไล ลามะ วัย 74 ปี เดินทางถึงสนามบินกรุงวอชิงตันเมื่อวันพุธ โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเหล่าชาวทิเบตพลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกา ภารกิจเยือนสหรัฐอเมริกาขององค์ดาไล ลามะ หวังให้สหรัฐอเมริกาช่วยเหลือแก้ปัญหาสถานการณ์การเมืองของทิเบต โดยนายลอดี กยารี หัวหน้าคณะเจรจาของทิเบตกับรัฐบาลสาธารณรัฐระชาชนจีน ระบุองค์ดาไล ลามะกับประธานาธิบดีโอบามา หารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์โลกและสถานการณ์ในทิเบต มีทหารจีนประจำการอยู่ตั้งแต่ปี 2493 นอกจากประธานาธิบดีโอบามา ปฏิเสธเสียงคัดค้านของสาธารณรัฐประชาชนจีนเรื่องหารือกับองค์ดาไล ลามะแล้ว องค์ดาไล ลามะ ยังมีโอกาสพบหารือกับนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ในฐานะเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ผู้มีอิทธิพลทางศาสนาและผู้นำทางวัฒนธรรม รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนค้ดค้านการพบหารือใดๆระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกากับองค์ดาไล ลามะ ระบุรัฐบาลสหรัฐอเมริกาตัดสินใจผิดพลาดที่ดำเนินการเช่นนั้น เลี่ยงไม่พ้นต้องกระทบความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ องค์ดาไล ลามะ ระบุยอมรับการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีนในทิเบต  สหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ขณะที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกล่าวหาองค์ดาไล ลามะ คือ สุนัขป่าในคราบนักบวช พยายามแยกดินแดนทิเบตจากการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน องค์ดาไล ลามะ ลี้ภัยการเมืองจากทิเบตไปอยู่ในอินเดียตั้งแต่ปี 2502 ขณะที่นายลอดี กยารี ผู้แทนพิเศษขององค์ดาไล ลามะ เพิ่งได้เจรจากับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งแรกเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ทูตพิเศษขององค์ดาไล ลามะ เคลื่อนไหวหารือกับเหล่าผู้นำสหรัฐอเมริกามาตลอด นับตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อช่วงปี 2534  มีเป้าหมายยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตชาวทิเบต ให้ชาวทิเบตมีสิทธิเสรีภาพเลือกนับถือศาสนา ตลอดจนรักษาขนบประเพณี วัฒนธรรมและภาษาของตนเอาไว้โดยไม่ถูกกลืน

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive